SEAProTI.org
: Thai Interpreter Crisis in 2024: Challenges Facing the Industry

Thai Interpreter Crisis in 2024: Challenges Facing the Industry

The Thai Interpreter Crisis in 2024: Challenges Facing the Industry

January 1, 2024, Bangkok – The interpreter industry in Thailand is facing numerous challenges, with a significant cause rooted in economic pressures. These pressures have driven many individuals, both intentionally and unintentionally, to take on interpreting roles despite lacking essential language skills, interpreting expertise, appropriate qualifications, or professional ethics.

A particularly troubling issue is the misuse of language skills for harmful purposes, such as deceiving or exploiting the public. This undermines trust in the interpreting profession as a whole, tarnishing its image and directly endangering service users.

In response, relevant organizations should collaborate to raise public awareness about the importance of using qualified interpreters, providing information to enhance societal understanding, and strengthening professional standards within the industry. However, over the past year, even Thai government agencies responsible for interpreters have failed to implement oversight measures for their interpreters. This has allowed some interpreters to misuse their skills, causing distress and infringing on the rights of both Thai and foreign citizens. Examples include soliciting money from victims with promises of favorable translations and other misconduct.

Challenges in the Interpreter Industry

Work-Related Issues

  1. Interpreter Shortages:
    Thailand faces a severe shortage of interpreters, particularly sign language interpreters, with only 178 interpreters available for over 400,000 hearing-impaired individuals nationwide. Additionally, there is a widespread lack of interpreters across other languages necessary for public service roles.

  2. Training and Quality Issues:
    The Southeast Asian Association of Professional Translators and Interpreters (SEAProTI), which collaborates closely with law enforcement, frequently reports a lack of qualified interpreters for police-related work. Interpreters trained by government agencies often face quality issues, making them unsuitable for effective deployment.

Although Thailand conducts interpreter training programs, these programs lack rigorous evaluations, quality assessments, and in-depth skill testing. As a result, completing a training program does not guarantee the professional competence required for interpreting work.

This highlights the urgent need to improve interpreter training standards in Thailand, emphasizing clear assessments, quality assurance, and professional development to ensure that trainees are adequately prepared in terms of skills, knowledge, and ethics. Addressing the interpreter shortage effectively would not only meet the needs of service users but also boost confidence in the profession within Thailand.

  1. Geographical Imbalance:
    Interpreters in Thailand are predominantly concentrated in Bangkok and its metropolitan areas, where there is higher demand and better job opportunities, particularly in major business and communication hubs. This leaves rural and regional areas facing acute interpreter shortages, impeding access to essential services, education, and business communication.

Efforts to address this imbalance should include promoting interpreter jobs in rural areas, creating diverse opportunities, and providing incentives for professional interpreters to work in different regions. This would reduce disparities and improve service accessibility nationwide.

  1. Job Uncertainty:
    Freelance interpreters frequently face job instability, particularly with government-related assignments that are often canceled or rescheduled at short notice. In some cases, canceled assignments do not offer any compensation, even when interpreters have prepared or reserved their time for the task.

Such conditions make freelance interpreting unsuitable for those seeking job stability or consistent income. Instead, these roles might be better suited for volunteer interpreters or retired professionals who are less dependent on income.

Skill-Related Challenges

  1. Language Proficiency Issues:
    New interpreters often struggle with communication due to insufficient language skills for professional interpreting. Challenges include understanding specialized terminology, active listening, and applying proper grammatical structures. These issues are particularly pronounced among recent graduates, whose foreign language proficiency often remains at a basic level (equivalent to high school or below) compared to native speakers or experts.

Employers and agencies also frequently fail to rigorously evaluate interpreters’ language skills, especially in specialized terminology and oral translation proficiency. This leads to underqualified interpreters being hired, potentially harming clients and service users.

Experienced interpreters who rely on rote memorization of sentences (resembling “karaoke-style” learning) or lack a direct academic background in the target language compound these challenges. Their limited language proficiency and inability to adapt to complex contexts diminish the quality of interpretation services, particularly in sight translation tasks or courtroom settings, where high-level proficiency is required.

  1. Understanding Work Content:
    New interpreters in Thailand often face difficulties understanding the content of their assignments, affecting the quality of their work and contributing to psychological stress, such as anxiety or pressure during assignments. These challenges are exacerbated by attitudes common in the Thai interpreting community.

Many interpreters display high ego and resistance to continuous training or updating their knowledge. Instead, they often choose to work according to personal preferences, disregarding professional standards or client expectations. This results in poor-quality interpretations and, in some cases, violations of client rights, such as inaccuracies in critical contexts like medical or legal settings.

Cultural and Communication Issues

  1. Communication Styles in Thailand:
    Interpreters frequently encounter challenges due to Thai communication styles, which are often verbose, ambiguous, or overly concise, leaving sentences incomplete. These traits can deprive interpreters of crucial information needed for accurate interpretation. Additionally, some speakers respond indirectly or avoid addressing the main question, forcing interpreters to infer and connect ideas themselves, which can compromise accuracy and efficiency.

  2. Cultural Differences:
    Interpreters must adapt to cultural differences effectively, such as translating criticism from Japanese supervisors. Japanese feedback is often direct and critical, whereas Thai culture values politeness and preserving the recipient’s dignity. Interpreters must adjust the tone and language to align with Thai cultural norms, avoiding misunderstandings or dissatisfaction between parties.

  3. Stress and Pressure: The Challenges of Being an Interpreter

    Interpreting is a profession that involves significant stress, especially when working in front of the public or interpreting for important individuals or groups. Interpreters must thoroughly prepare to understand the content of their assignments and maintain unwavering focus throughout their work.

    For professional interpreters, a common challenge is dealing with disruptions caused by attorneys who strategically target interpreters to gain an advantage in legal cases. Attorneys familiar with using interpreters often recognize vulnerabilities in cases, typically involving:

    1. The phrasing or terminology of the case.
    2. The interpreter’s performance.

    Furthermore, the atmosphere in courtrooms is often filled with pressure from various individuals involved, which can hinder an interpreter’s ability to perform effectively. Even when the interpreter translates accurately, they may still be used as a tool for diverting attention or manipulating the case’s direction.

    For novice interpreters, the pressure is even greater due to a lack of experience and expertise. Inability to provide accurate or complete translations may result in harsh criticism and damage their confidence. In severe cases, such as criminal trials where the defendant’s rights and freedom are at stake, novice interpreters may misinterpret key messages, causing distorted content or intentions. Such errors can have serious consequences for the individuals involved and undermine the fairness of the justice process as a whole.

Systemic and Legal Issues

  1. Lack of Uniformity in Assistance:
    Despite legal provisions supporting interpreters’ roles in the justice system, inconsistencies in regulations and practices across different agencies lead to a lack of coherence in assisting non-Thai speakers. This creates gaps in access to justice and rights for individuals relying on interpreter services.

  2. Insufficient Standards and Oversight:
    The absence of clear criteria for evaluating interpreters’ performance undermines quality assurance in interpretation, increasing the risk of errors and miscommunication, particularly in contexts requiring high precision, such as legal proceedings or international conferences.

Case Studies of Interpretation Errors in Justice Systems

  1. Case of Interpreter Incompetence in Northern Ireland (2014):
    In a 2014 sexual assault case in Northern Ireland, proceedings were dismissed due to the incompetence of an unregistered interpreter. Translation errors rendered the trial ineffective, resulting in a loss of over £30,000 in legal and administrative costs. This case underscores the importance of using certified interpreters with proven skills to prevent such failures and resource wastage.

  2. Impact on Defendants’ Rights:
    Interpretation errors can gravely impact defendants’ rights. In extreme cases, misinterpretation may lead to guilty parties being released or innocent individuals being wrongfully convicted. Such errors erode public confidence in the justice system and highlight the critical need for skilled and qualified interpreters.

These examples emphasize the importance of maintaining high professional standards in interpreting to protect the rights of all parties involved and uphold justice.

About SEAProTI’s certified translators, translation certification providers, and certified interpreters:

The Southeast Asian Association of Professional Translators and Interpreters (SEAProTI) has officially announced the criteria and qualifications for individuals to register as “Certified Translators,” “Translation Certification Providers,” and “Certified Interpreters” under the association’s regulations. These guidelines are detailed in Sections 9 and 10 of the Royal Thai Government Gazette, issued by the Secretariat of the Cabinet under the Office of the Prime Minister of the Kingdom of Thailand, dated July 25, 2024, Volume 141, Part 66 Ng, Page 100.

To read the full publication, visit: the Royal Thai Government Gazette 

วิกฤติล่ามไทยในปี 2567 แวดวงล่ามไทยต้องเผชิญอะไรบ้าง

1 มกราคม 2567, กรุงเทพมหานคร – วิกฤตการณ์ในแวดวงล่ามของไทยมีหลายประเด็นที่ควรพิจารณา โดยหนึ่งในสาเหตุสำคัญมาจากปัญหาเศรษฐกิจที่บีบให้คนจำนวนมาก ทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ เข้ามาประกอบอาชีพล่าม แม้จะขาดทักษะด้านภาษา ด้านการล่าม ความรู้ความสามารถที่เหมาะสม หรือจรรยาบรรณวิชาชีพก็ตาม

ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ การที่บางคนใช้ความรู้ด้านภาษาไปในทางที่ผิด เช่น หลอกลวงหรือสร้างความเสียหายต่อประชาชน ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในอาชีพล่ามโดยรวม ปัญหานี้ไม่เพียงแต่ทำลายภาพลักษณ์ของวิชาชีพ แต่ยังเป็นอันตรายต่อผู้ใช้บริการโดยตรง

ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรร่วมมือกันประชาสัมพันธ์ถึงความสำคัญของการใช้ล่ามที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งให้ข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจในสังคม และส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพล่ามให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น แต่ในปีที่ผ่านมา แม้แต่หน่วยงานราชการไทยที่เป็นต้นสังกัดของล่ามก็ไม่ได้เข้ามามีมาตรการกำกับดูแลล่ามในสังกัดของตัวเอง ล่ามบางกลุ่มจึงเอาความรู้ความสามารถเหล่านั้นไปสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนและละเมิดสิทธิประชาชนทั้งไทยและต่างชาติ จำนวนมาก เช่น เรียกรับเงินจากผู้เสียหายโดยสัญญาว่าจะแปลให้ชนะ ฯลฯ

ล่ามในประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายและปัญหาหลายประการในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้:

ปัญหาด้านการทำงาน

การขาดแคลนล่าม: ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนล่ามอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในกลุ่มล่ามภาษามือ ซึ่งมีผู้พิการทางการได้ยินกว่า 400,000 คนทั่วประเทศ แต่กลับมีล่ามภาษามือเพียง 178 คน ทำให้จำนวนล่ามไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ การขาดแคลนล่ามยังครอบคลุมถึงภาษาต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับงานบริการสาธารณะ (Public Service)

ปัญหาในระบบฝึกอบรมและคุณภาพของล่าม สมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทำงานใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้รับข้อมูลว่าตำรวจประสบปัญหาการขาดแคลนล่ามอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งยังพบว่าล่ามที่ได้รับการฝึกอบรมจากหน่วยงานราชการมักมีปัญหาด้านคุณภาพ ส่งผลให้หน่วยงานไม่สามารถใช้งานล่ามเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แม้ประเทศไทยจะมีการจัดอบรมล่ามอย่างต่อเนื่อง แต่กระบวนการฝึกอบรมกลับไม่ได้เน้นการประเมินผลหรือตรวจสอบคุณภาพอย่างจริงจัง ไม่มีการทดสอบความสามารถเชิงลึก หรือการตรวจสอบคุณสมบัติที่เหมาะสมของล่าม ส่งผลให้การผ่านการอบรมไม่ได้เป็นหลักประกันว่าบุคคลนั้นจะสามารถทำงานเป็นล่ามได้อย่างมืออาชีพ

ปัญหานี้สะท้อนถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการยกระดับมาตรฐานการฝึกอบรมล่ามในประเทศไทย โดยควรเน้นการประเมินผลที่ชัดเจน การตรวจสอบคุณภาพ และการพัฒนาความสามารถเชิงวิชาชีพ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ผ่านการอบรมมีความพร้อมทั้งด้านทักษะ ความรู้ และจรรยาบรรณในการทำงาน

การจัดการกับปัญหาการขาดแคลนล่ามอย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงช่วยตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ แต่ยังส่งเสริมความเชื่อมั่นต่ออาชีพล่ามในประเทศอีกด้วย

การกระจุกตัวของล่าม: ล่ามส่วนใหญ่ในประเทศไทยมักกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เนื่องจากในพื้นที่เหล่านี้มีปริมาณงานที่มากกว่าและโอกาสในการทำงานที่ดีกว่า โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจและการสื่อสารระหว่างประเทศ ส่งผลให้พื้นที่นอกเขตเมืองหลวงหรือหัวเมืองใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนล่ามอย่างรุนแรง

ความไม่สมดุลนี้สร้างความลำบากให้กับชุมชนในพื้นที่ห่างไกลที่ต้องการบริการล่าม ทั้งในงานบริการสาธารณะ การศึกษา และการติดต่อธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการที่สำคัญและการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับท้องถิ่น

การแก้ไขปัญหานี้ควรเน้นการกระจายตัวของล่ามอย่างเท่าเทียมผ่านการส่งเสริมงานในพื้นที่ชนบท การสนับสนุนโอกาสในการทำงานที่หลากหลาย และการให้แรงจูงใจแก่ล่ามมืออาชีพในการทำงานในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มความพร้อมในการให้บริการทั่วประเทศ

ความไม่แน่นอนของงาน: ล่ามอิสระต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงานจากหน่วยงานราชการที่มักมีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงตารางงานอย่างกะทันหัน ซึ่งในบางกรณี งานที่ถูกยกเลิกอาจไม่ให้ค่าตอบแทนใด ๆ แม้ว่าล่ามจะได้เตรียมตัวหรือกันเวลาสำหรับงานนั้นไว้แล้ว

สถานการณ์ดังกล่าวทำให้อาชีพล่ามอิสระไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความมั่นคงหรือรายได้ที่แน่นอนจากงานล่ามลักษณะนี้ จึงควรจัดงานประเภทดังกล่าวให้เหมาะสมกับล่ามจิตอาสาที่เต็มใจสนับสนุนสังคม หรือผู้ที่เกษียณอายุแล้วซึ่งมีความพร้อมในการทำงานโดยไม่ต้องพึ่งพารายได้เป็นหลัก

ความท้าทายด้านทักษะ

ปัญหาด้านภาษา: ล่ามมือใหม่มักประสบปัญหาด้านการสื่อสาร เนื่องจากทักษะทางภาษายังไม่เพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานจริง โดยเฉพาะในส่วนของคำศัพท์เฉพาะทาง การฟังจับใจความสำคัญ และการใช้โครงสร้างไวยากรณ์ที่ถูกต้อง ปัญหาเหล่านี้ยิ่งเด่นชัดในผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาใหม่ เนื่องจากระดับภาษาต่างประเทศยังอยู่ในระดับพื้นฐาน (เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า) เมื่อเปรียบเทียบกับเจ้าของภาษาหรือผู้เชี่ยวชาญ

นอกจากนี้ นายจ้างหรือเอเจนซี่ที่ว่าจ้างล่ามมักไม่ได้ดำเนินการประเมินความสามารถด้านภาษาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในส่วนของคำศัพท์เฉพาะทางและความชำนาญในการแปลด้วยวาจา ส่งผลให้ล่ามที่ไม่มีพื้นฐานภาษาที่ดีพอได้รับโอกาสทำงาน ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อผู้ว่าจ้างหรือผู้ใช้บริการ

นอกจากปัญหาในกลุ่มล่ามมือใหม่แล้ว ล่ามรุ่นเก่าที่เรียนรู้ภาษาแบบเน้นการท่องจำรูปประโยค (ลักษณะคล้าย “ภาษาคาราโอเกะ”) และไม่ได้เรียนจบจากสาขาวิชาภาษานั้นโดยตรง ยิ่งเพิ่มความท้าทายให้กับวงการล่ามในปัจจุบัน การขาดความรู้เชิงลึกด้านภาษาและความสามารถในการประยุกต์ใช้ภาษาทำให้การให้บริการล่ามขาดคุณภาพ และอาจกลายเป็นภาระของผู้ใช้บริการ เพราะเมื่อต้องทำ Sight Translation ก็ไม่สามารถทำงานได้ รวมถึง ล่ามที่เป็นชาวต่างชาติไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเกิดปัญหาเมื่อต้องไปเบิกความในชั้นศาลที่จะต้องได้ทั้งภาษาแม่ของตัวเองและภาษาที่จะแปลในระดับสูง

ความไม่เข้าใจเนื้อหาการทำงาน: ล่ามมือใหม่ในประเทศไทยมักประสบปัญหาเกี่ยวกับความไม่เข้าใจในเนื้อหาของงานที่ต้องแปล ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพงานและก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตใจ เช่น ความเครียดหรือความรู้สึกกดดันระหว่างการทำงาน ปัญหานี้ยิ่งทวีความซับซ้อนเมื่อรวมกับทัศนคติที่มักพบในแวดวงล่ามไทย

ล่ามไทยจำนวนไม่น้อยมีอีโก้สูง และไม่ให้ความสำคัญกับการอบรมหรือการอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ หลายคนเลือกที่จะทำงานตามความพอใจส่วนตัว โดยไม่ได้คำนึงถึงมาตรฐานหรือความคาดหวังของผู้ใช้บริการ ส่งผลให้งานแปลขาดคุณภาพ และในบางกรณี การแปลที่ผิดพลาดอาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิของผู้ใช้บริการ เช่น การสื่อสารข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในบริบทสำคัญอย่างการแพทย์หรือกฎหมาย

ล่ามไทยที่มีความสามารถด้านภาษาที่สองและสาม มักมีความเชี่ยวชาญในภาษาคู่แรก (L1 และ L2) มากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องปกติในกลุ่มคนเรียนภาษาหลายภาษา แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อบางคนเลือกที่จะรับงานภาษาที่สาม (L3) โดยไม่ได้ประเมินความสามารถของตนในบริบทงานที่ซับซ้อน เช่น งานด้านการแพทย์ กฎหมาย หรือการประชุมระดับสูง ซึ่งต้องการความแม่นยำอย่างมาก

ในหลายกรณี ล่ามที่ทำงานแปลผิดพลาดในภาษาที่ตนไม่เชี่ยวชาญยังคงยอมรับค่าจ้าง แม้ผลของงานจะสร้างความเสียหายหรือความเข้าใจผิดให้แก่ผู้ใช้บริการ พฤติกรรมเช่นนี้ไม่เพียงแต่ทำลายความน่าเชื่อถือของวิชาชีพล่าม แต่ยังส่งผลต่อผู้ใช้บริการในแง่ของผลกระทบทางกฎหมาย การรักษาพยาบาล หรือการเจรจาทางธุรกิจ

ความเครียดและความกดดัน: งานล่ามเป็นอาชีพที่ต้องเผชิญกับความเครียดอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อทำงานแปลต่อหน้าสาธารณชนหรือให้คณะบุคคลสำคัญ ล่ามต้องเตรียมตัวอย่างหนักเพื่อให้เข้าใจเนื้อหางานและรักษาสมาธิอย่างต่อเนื่องตลอดการทำงาน

สำหรับล่ามมืออาชีพ หนึ่งในปัญหาที่มักเผชิญคือการถูกรบกวนสมาธิโดยทนายความที่ใช้กลยุทธ์โจมตีล่ามเพื่อสร้างความได้เปรียบในคดี ทนายความที่คุ้นเคยกับการใช้ล่ามจะทราบว่าจุดอ่อนของคดีมักอยู่ที่ 1. สำนวนในคดี และ 2. การทำงานของล่ามเอง นอกจากนี้ บรรยากาศในห้องพิจารณาคดียังเต็มไปด้วยความกดดันจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจทำให้ล่ามไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม้ว่าล่ามจะไม่ได้แปลผิด แต่กลับถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเบี่ยงเบนประเด็นของคดี

สำหรับล่ามมือใหม่ ความกดดันยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อขาดประสบการณ์และความชำนาญ หากไม่สามารถแปลได้อย่างถูกต้องหรือสมบูรณ์ อาจถูกตำหนิและวิพากษ์วิจารณ์จนเสียความมั่นใจ ในบางกรณี เช่น คดีอาญา ที่มีผลกระทบต่อสิทธิและอิสรภาพของผู้ต้องหา ล่ามมือใหม่อาจแปลความหมายผิดพลาดจนเนื้อหาและเจตนาเพี้ยนไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีและกระบวนการยุติธรรมโดยรวม

ปัญหาด้านการสื่อสารและวัฒนธรรม

การสื่อสารของคนไทย: ล่ามมักเผชิญปัญหาการสื่อสารกับคนไทยที่พูดเข้าใจยาก เนื่องจากลักษณะการสื่อสารที่เยิ่นเย้อ ใช้คำพูดกำกวม หรือพูดห้วนจนไม่จบประโยค ส่งผลให้ล่ามขาดข้อมูลสำคัญในการถ่ายทอดเนื้อหาอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ผู้พูดบางคนยังตอบไม่ตรงคำถามหรือหลีกเลี่ยงประเด็นหลัก ทำให้ล่ามต้องพยายามตีความและเชื่อมโยงเนื้อหาด้วยตนเอง ซึ่งอาจส่งผลต่อความแม่นยำและประสิทธิภาพในการแปล

ความแตกต่างทางวัฒนธรรม: ล่ามต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม เช่น ในกรณีการแปลคำตำหนิของหัวหน้างานชาวญี่ปุ่น ซึ่งมักแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาและเป็นเชิงวิจารณ์มากกว่า เมื่อต้องสื่อสารกับพนักงานชาวไทย ล่ามจำเป็นต้องปรับน้ำเสียงและถ้อยคำให้สุภาพ อ่อนโยน และเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทยที่ให้ความสำคัญกับการรักษาหน้าของผู้รับสาร เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดหรือความขุ่นข้องใจระหว่างทั้งสองฝ่าย

ปัญหาด้านระบบและกฎหมาย

ขาดความเป็นเอกภาพในการช่วยเหลือ: แม้จะมีกฎหมายรองรับบทบาทของล่ามในกระบวนการยุติธรรม แต่ข้อบังคับและแนวปฏิบัติของแต่ละหน่วยงานกลับมีความแตกต่างกัน ส่งผลให้ขาดความเป็นเอกภาพในการให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดช่องว่างในกระบวนการยุติธรรมและการเข้าถึงสิทธิของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากล่าม

ขาดมาตรฐานและการตรวจสอบ: การขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของล่าม ส่งผลให้ไม่สามารถรับประกันคุณภาพของการแปลได้อย่างเต็มที่ ซึ่งอาจนำไปสู่ความผิดพลาดหรือความคลาดเคลื่อนในกระบวนการสื่อสารที่สำคัญ โดยเฉพาะในบริบทที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น กระบวนการยุติธรรมหรือการประชุมระหว่างประเทศ

การแก้ไขปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาระบบการจัดหาล่าม ยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ และสร้างความเข้าใจในบทบาทสำคัญของล่ามในสังคมไทย

ผลกระทบร้ายแรงเมื่อล่ามแปลผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรม

มีหลายกรณีศึกษาทั้งในไทยและในต่างประเทศที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบร้ายแรงเมื่อล่ามแปลผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรม:

ผลกระทบต่อการพิจารณาคดี

การล่มเหลวในการพิจารณาคดี: ในปี 2014 ที่ไอร์แลนด์เหนือ เกิดกรณีสำคัญในกระบวนการยุติธรรม เมื่อการพิจารณาคดีอาชญากรรมทางเพศที่ร้ายแรงต้องถูกยกเลิก เนื่องจากความไร้ความสามารถของล่ามที่ไม่ได้ลงทะเบียนและไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ ความผิดพลาดในการแปลส่งผลให้กระบวนการพิจารณาคดีไม่สามารถดำเนินไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรม รัฐบาลต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูญเสียไปกว่า 30,000 ปอนด์ ทั้งในด้านค่าใช้จ่ายทางกฎหมายและการจัดการใหม่ เหตุการณ์นี้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ล่ามที่มีคุณสมบัติผ่านการรับรองและการตรวจสอบอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรมและความสิ้นเปลืองของทรัพยากรของรัฐ

ความล่าช้าและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น: การขาดแคลนล่ามที่มีคุณสมบัติเหมาะสมส่งผลกระทบร้ายแรงต่อกระบวนการทำงานในหลายบริบท โดยเฉพาะในกระบวนการยุติธรรม การแพทย์ และการประชุมระดับนานาชาติ ความล่าช้าที่ไม่ได้วางแผนไว้เกิดขึ้นเมื่อล่ามไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแปลผิดพลาด การไม่เข้าใจบริบท หรือการไม่สามารถสื่อสารได้อย่างราบรื่น ทำให้ต้องหยุดหรือเลื่อนกระบวนการเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ นอกจากนี้ ความล่าช้ายังส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดหาล่ามใหม่ การเลื่อนตารางงาน หรือการเสียเวลาในกระบวนการที่ต้องดำเนินการซ้ำ เหตุการณ์เช่นนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการคัดเลือกและการใช้ล่ามที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นและคุ้มค่า

การตัดสินที่ไม่ยุติธรรม: ในกรณีที่ร้ายแรงที่สุด ความผิดพลาดในการแปลของล่ามอาจนำไปสู่ผลกระทบที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ในกระบวนการยุติธรรม เช่น ผู้กระทำผิดอาจได้รับการปล่อยตัวเนื่องจากการสื่อสารที่ผิดพลาดหรือไม่ครบถ้วน ทำให้หลักฐานหรือข้อเท็จจริงในคดีถูกบิดเบือน หรือในทางกลับกัน ผู้บริสุทธิ์อาจถูกตัดสินว่ามีความผิดและถูกจองจำโดยปราศจากความยุติธรรม ความผิดพลาดเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ยังบั่นทอนความเชื่อมั่นของสาธารณชนในกระบวนการยุติธรรมและระบบกฎหมายโดยรวม กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ล่ามที่มีคุณสมบัติและความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนและรักษาความเป็นธรรมในทุกขั้นตอนของกระบวนการ

ผลกระทบต่อสิทธิของจำเลย

การละเมิดสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม: หากล่ามไม่สามารถแปลได้อย่างถูกต้องหรือครบถ้วน ผู้ที่ต้องพึ่งพาบริการล่ามในกระบวนการทางกฎหมายอาจเสียโอกาสสำคัญในการรับข้อมูลที่จำเป็น เช่น คำถามที่ต้องตอบ คำอธิบายของกระบวนการทางกฎหมาย หรือการรับรู้ถึงรายละเอียดของหลักฐานที่นำเสนอในคดี ความบกพร่องนี้อาจส่งผลให้บุคคลดังกล่าวไม่สามารถปกป้องสิทธิของตนเองได้อย่างเต็มที่ หรือไม่เข้าใจเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคดีจนทำให้การตัดสินใจผิดพลาด ยิ่งในกรณีที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา ผลกระทบดังกล่าวอาจส่งผลต่อเสรีภาพหรือชีวิตของบุคคลโดยตรง ความผิดพลาดในการแปลไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง แต่ยังทำให้ความยุติธรรมในกระบวนการทางกฎหมายถูกตั้งคำถามและสูญเสียความน่าเชื่อถือ การแก้ไขปัญหานี้จำเป็นต้องมีล่ามที่มีทักษะและความรู้เพียงพอในการแปลภาษาที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อน เพื่อให้กระบวนการทางกฎหมายดำเนินไปอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส

การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ: การแปลผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรมอาจส่งผลร้ายแรงต่อผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยเฉพาะในกรณีที่พวกเขาไม่สามารถสื่อสารข้อเท็จจริงหรือเจตนาของตนได้อย่างถูกต้อง การแปลที่ไม่ครบถ้วนหรือผิดความหมายอาจทำให้คำให้การคลาดเคลื่อน สื่อสารเจตนาที่บิดเบือน หรือทำให้ข้อเท็จจริงสำคัญถูกละเลย ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่เป็นธรรมในคดี ตัวอย่างเช่น ผู้ต้องหาอาจถูกตีความว่าให้การรับสารภาพในสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจ หรือคำชี้แจงของจำเลยอาจดูไม่มีน้ำหนักเพียงเพราะการแปลที่ผิดพลาด นอกจากนี้ ความบกพร่องดังกล่าวยังอาจส่งผลให้หลักฐานที่นำเสนอไม่ถูกนำมาพิจารณาอย่างเหมาะสม สร้างความเสียหายต่อความเป็นธรรมของคดีและชีวิตของผู้เกี่ยวข้องโดยตรง เหตุการณ์เหล่านี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้ล่ามที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจบริบททางกฎหมาย เพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสามารถนำเสนอข้อเท็จจริงและเจตนาได้อย่างถูกต้อง และให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินไปอย่างโปร่งใสและยุติธรรมที่สุด

การละเมิดสิทธิมนุษยชน: ล่ามที่ขาดคุณภาพอาจส่งผลให้ผู้ต้องสงสัยหรือจำเลยไม่ได้รับการแจ้งสิทธิของตนอย่างครบถ้วนหรือถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการยุติธรรม เช่น สิทธิที่จะนิ่งเงียบเพื่อหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลที่อาจใช้เป็นหลักฐานปรักปรำตนเอง หรือสิทธิที่จะมีทนายความเพื่อให้คำปรึกษาทางกฎหมาย หากล่ามแปลข้อมูลเหล่านี้ผิดพลาดหรือขาดตกบกพร่อง ผู้ต้องสงสัยหรือจำเลยอาจไม่ทราบถึงสิทธิของตนและไม่สามารถปกป้องตัวเองได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมในกระบวนการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี ความบกพร่องดังกล่าวไม่เพียงแต่กระทบต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ยังสร้างความเสียหายต่อความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของระบบยุติธรรม การแก้ไขปัญหานี้จำเป็นต้องใช้ล่ามที่มีทักษะและความเข้าใจในกฎหมายอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้การสื่อสารระหว่างผู้ต้องสงสัยหรือจำเลยและเจ้าหน้าที่ดำเนินไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรม

กรณีศึกษาเฉพาะ

คดี Vasquez v US: กรณีที่จำเลยขอถอนคำให้การรับสารภาพ โดยอ้างถึงการแปลที่ไม่ถูกต้องและไม่เพียงพอของทนายความที่พูดภาษาสเปน สะท้อนถึงปัญหาการสื่อสารในกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความยุติธรรมในคดี ความซับซ้อนยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อทนายความคนใหม่ใช้เครื่องมือแปลภาษาอย่าง Google Translate เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการแปลครั้งก่อน แม้ว่าเทคโนโลยีแปลภาษาจะมีประโยชน์ในบางบริบท แต่การนำมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมที่ต้องการความแม่นยำและบริบทที่เฉพาะเจาะจง อาจทำให้เกิดความผิดพลาดร้ายแรง การแปลที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดในข้อเท็จจริง การตีความเจตนาผิด และการตัดสินใจที่ไม่ยุติธรรม กรณีนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ล่ามหรือผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาที่มีความรู้ความเข้าใจในบริบททางกฎหมายอย่างแท้จริง แทนการพึ่งพาเทคโนโลยีที่ยังขาดความสามารถในการตีความและถ่ายทอดความหมายในระดับที่ซับซ้อนได้อย่างถูกต้อง

คดีฆาตกรรมในอิตาลี: จำเลยที่พูดภาษาอังกฤษได้รับการชดเชยค่าเสียหายเมื่อพบว่าพวกเขาไม่ได้รับการเข้าถึงล่ามที่มีคุณสมบัติเพียงพอในระหว่างการสอบปากคำเบื้องต้น เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการมีล่ามมืออาชีพที่สามารถถ่ายทอดข้อมูลได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนในกระบวนการทางกฎหมาย โดยเฉพาะในช่วงสอบปากคำซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินคดี หากล่ามขาดความเชี่ยวชาญ ความผิดพลาดในการแปลอาจทำให้จำเลยไม่ได้รับข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อกล่าวหา สิทธิของตน หรือผลกระทบของคำให้การ ส่งผลให้พวกเขาไม่สามารถปกป้องตนเองได้อย่างเหมาะสม และอาจเกิดการตัดสินใจที่เสียเปรียบโดยไม่ตั้งใจ กรณีนี้ชี้ให้เห็นว่าการละเลยคุณภาพของล่ามในกระบวนการยุติธรรมสามารถนำไปสู่ความเสียหายต่อจำเลยและทำลายความน่าเชื่อถือของระบบกฎหมาย การใช้ล่ามที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาความโปร่งใสและความยุติธรรมในกระบวนการทางกฎหมาย

กรณีเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีล่ามที่มีคุณสมบัติและทักษะสูงในกระบวนการยุติธรรม เพื่อปกป้องสิทธิของผู้เกี่ยวข้องและรักษาความยุติธรรมของระบบ

เกี่ยวกับนักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรองของสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAProTI) ได้ประกาศหลักเกณฑ์และคุณสมบัติผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็น “นักแปลรับรอง (Certified Translators) และผู้รับรองการแปล (Translation Certification Providers) และล่ามรับรอง (Certified Interpreters)” ของสมาคม หมวดที่ 9 และหมวดที่ 10 ในราชกิจจานุเบกษา ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรไทย ลงวันที่ 25 ก.ค. 2567 เล่มที่ 141 ตอนที่ 66 ง หน้า 100 อ่านฉบับเต็มได้ที่: นักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรอง   

CHANGE LANGUAGE
Powered by
SEAProTI.org
An initiative to raise professional standards of translators and interpreters in Southeast Asia
Reload Page
Copy Link