Neutrality and Conflict of Interest: The Crucial Role of Interpreters in the Justice System
In the justice system, especially in the context of this article discussing interpreters in Thai criminal cases (with more leniency in civil and other cases), interpreters serve as a critical mechanism for ensuring accurate and complete communication between parties with language barriers. The role of interpreters extends beyond mere translation; they must also uphold neutrality and avoid conflicts of interest to ensure a transparent and fair trial process. Their duties must be based on independence, integrity, and adherence to professional ethics, forming the foundation of trust in the justice system for both the parties involved and the public.
The roles and responsibilities of interpreters in the justice system, including key issues related to impartiality and avoiding conflicts of interest, as stipulated in Thai law and precedents, can be summarized as follows:
1. The Role of Interpreters in the Justice System
Interpreters must:
- Translate accurately, completely, and without alteration, omission, or addition.
- Restrict their role solely to interpreting.
- Avoid giving advice or expressing opinions during legal proceedings.
2. Neutrality of Interpreters
Interpreters must maintain neutrality to preserve the credibility of the legal process by:
- Informing the court if there is, or might be, a conflict of interest, such as:
- Personal relationships with the parties involved or their attorneys.
- Previous involvement in the case.
- Financial interests in the dispute or with the parties.
- Any other interest related to the case.
- Avoiding actions that might compromise neutrality, such as preparing case documents.
Judicial precedents on neutrality:
- The court must ensure the interpreter’s neutrality. If doubts arise, parties may challenge the interpreter’s role, potentially leading to their replacement.
- Appointing an interpreter with a conflict of interest, such as a case investigator, can affect the legal proceedings.
3. Legal Provisions Concerning Interpreters
Criminal Procedure Code, Section 13: Mandates the use of interpreters when a defendant or party does not understand Thai. Interpreters must take an oath or affirmation before translating.
Failure to comply with requirements, such as not taking an oath or signing translations, can render proceedings unlawful.
Key precedents:
- Precedent No. 1351/2015: If a defendant understands Thai, an interpreter is unnecessary, and proceedings can proceed lawfully.
- Precedent No. 10449/2013: Not using an interpreter when necessary requires annulment and retrial.
- Precedent No. 648/2019: Failure to have interpreters take an oath before examination invalidates confessions as evidence.
4. Exceptions and Judicial Discretion
The court has discretion to determine the necessity of an interpreter based on potential disadvantages to parties.
If an omission of an interpreter prejudices a defendant, such as during key witness examinations, the proceedings must be annulled and retried.
Interpreter use in investigations or court proceedings must comply with the law; non-compliance can invalidate the proceedings.
5. Preparing Case Documents by Interpreters
While the law does not explicitly prohibit interpreters who were involved in case document preparation from serving in the same case, they should avoid such roles to maintain neutrality.
Can Anyone Serve as an Interpreter?
Any individual may serve as an interpreter, provided they are not involved in the investigation, prosecution, or judicial roles, and their appointment complies with the law.
Precedent No. 18538/2012:
An investigating officer not directly involved in questioning may act as an interpreter. If the interpreter follows due process, their translations are valid as evidence.
Oath-Taking by Interpreters in Court
In court proceedings, interpreters must take an oath or affirmation to translate accurately and truthfully, ensuring the integrity of their work.
Precedent No. 7567/2001:
Failure to have an interpreter take an oath or sign translations renders proceedings unlawful.
Impacts of Not Taking an Oath in Investigations
If an interpreter in the investigation stage does not take an oath, the process remains valid; however, confessions obtained cannot be used as evidence.
Precedent No. 648/2019:
A defendant’s confession without a sworn interpreter cannot serve as evidence, per Section 134/4 of the Criminal Procedure Code.
Conclusion
Maintaining neutrality, independence, and avoiding conflicts of interest are vital for interpreters to uphold the credibility and fairness of the justice system for all parties involved.
SEAProTI’s certified translators, translation certification providers, and certified interpreters:
The Southeast Asian Association of Professional Translators and Interpreters (SEAProTI) has officially announced the criteria and qualifications for individuals to register as “Certified Translators,” “Translation Certification Providers,” and “Certified Interpreters” under the association’s regulations. These guidelines are detailed in Sections 9 and 10 of the Royal Thai Government Gazette, issued by the Secretariat of the Cabinet under the Office of the Prime Minister of the Kingdom of Thailand, dated July 25, 2024, Volume 141, Part 66 Ng, Page 100.
To read the full publication, visit: the Royal Thai Government Gazette
ความเป็นกลางและผลประโยชน์ทับซ้อน: บทบาทสำคัญของล่ามในกระบวนการยุติธรรม
ในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะบทความนี้ จะพดถึงล่ามในคดีอาญาของไทย ส่วนล่ามในคดีแพ่งและอื่น ๆ อาจมีข้ออนุโลมได้มากกว่านี้ ล่ามถือเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคู่ความที่มีข้อจำกัดทางภาษาเป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน บทบาทของล่ามไม่ได้จำกัดเพียงแค่การแปล แต่ยังต้องรักษาความเป็นกลางและหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน เพื่อให้กระบวนการพิจารณาคดีดำเนินไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม การปฏิบัติหน้าที่ของล่ามจึงต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นอิสระ ความซื่อสัตย์ และการยึดมั่นในจริยธรรมวิชาชีพ อันเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความไว้วางใจต่อระบบยุติธรรมทั้งจากคู่ความและสาธารณชน
บทบาทและหน้าที่ของล่ามในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงประเด็นสำคัญเรื่อง ความเป็นกลาง (impartiality) และการหลีกเลี่ยง ผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) ของล่ามตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและแนวคำพิพากษาในประเทศไทย ทั้งนี้ สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้:
1. บทบาทของล่ามในกระบวนการยุติธรรม
ล่ามต้อง:
- แปลข้อความอย่าง ถูกต้อง ครบถ้วน และไม่เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือเพิ่มเติมข้อความ
- จำกัดบทบาท ของตนให้อยู่ในขอบเขตของการแปลเท่านั้น
- หลีกเลี่ยงการให้คำแนะนำหรือแสดงความคิดเห็นในกระบวนการพิจารณาคดี
2. ความเป็นกลางของล่าม
ล่ามต้องรักษาความเป็นกลางเพื่อไม่ให้กระบวนการพิจารณาคดีเสียความน่าเชื่อถือ โดย:
- แจ้งให้ศาลทราบหากมีหรืออาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น มีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับคู่ความ หรือเคยเกี่ยวข้องกับคดีนั้นมาก่อน ได้แก่:
- ล่ามเป็นเพื่อนหรือญาติของคู่ความหรือทนายความของคู่ความ
- ล่ามเคยปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับคดีหรือเคยตระเตรียมคดีนั้นมาก่อน
- ล่าม คู่สมรสของล่าม หรือบุตรมีส่วนได้เสียทางการเงินในเรื่องที่พิพาทหรือกับคู่ความในกระบวนพิจารณาคดี
- ล่ามมีส่วนได้เสียอื่นใดกับคดี
- หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้เสียความเป็นกลาง เช่น การเตรียมเอกสารในคดีนั้น
แนวคำพิพากษาเกี่ยวกับความเป็นกลาง:
- ศาลต้องตรวจสอบความเป็นกลางของล่าม หากพบข้อสงสัย คู่ความสามารถคัดค้านได้ และอาจนำไปสู่การเปลี่ยนตัวล่าม
- การแต่งตั้งล่ามที่มีผลประโยชน์ขัดกัน เช่น เป็นพนักงานสอบสวนในคดี อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนพิจารณา
3. ข้อกำหนดด้านกฎหมายเกี่ยวกับล่าม
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 กำหนดให้ใช้ล่ามในกรณีที่จำเลยหรือคู่ความไม่เข้าใจภาษาไทย โดยล่ามต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนแปล
- กรณีที่ล่ามไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด เช่น ไม่สาบานหรือไม่ลงลายมือชื่อในคำแปล อาจทำให้กระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แนวคำพิพากษาสำคัญ:
- ฎ.1351/2558: หากจำเลยเข้าใจภาษาไทยดี แม้จะไม่ได้ใช้ล่าม ศาลพิจารณาได้โดยชอบ
- คำให้การรับสารภาพของจำเลยซึ่งเป็นคนต่างด้าวเชื้อชาติ และสัญชาติต่างประเทษ แต่พูดและฟังภาษาไทยเข้าใจดี เป็นไปตามความประสงค์อันแท้จริงของจำเลยแล้ว หาใช่เกิดจากความไม่เข้าใจในภาษาไทยไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องใช้ล่ามแปลตาม ป.วิ.อ.มาตรา 13 วรรคหนึ่ง
- ฎ.10449/2556: หากไม่ใช้ล่ามในกรณีที่จำเป็น การพิจารณาต้องถูกเพิกถอนและทำใหม่
- ป.วิ.อ.มาตรา 13 มิได้บังคับว่าในการพิจารณาของศาลทุกครั้งจะต้องแปลภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศในกรณีที่จำเลยเป็นชาวต่างประเทศ การจะให้ล่ามแปลหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล แม้ในวันสอบคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นจะมิได้จัดล่ามแปลคำฟ้องเป็นภาษาอังกฤษให้แก่จำเลยซึ่งเป็นชาวออสเตรเลียฟัง แต่จำเลยมิได้ให้การในวันนั้น โดยได้แต่งตั้งทนายความและยื่นคำให้การต่อศาลในอีกหนึ่งเดือนต่อมา โดยมีลายมือชื่อของล่ามลงไว้ด้วย แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องที่ศาลได้อ่านให้ฟังในวันสอบคำให้การจำเลยแว ทั้งต่อมาก็ปรากฏว่ามีล่ามแปลทุกครั้งที่มีการพิจารณาคดี กระบวนพิจารณาจึงชอบแล้ว
- ฎ.648/2562: การไม่ให้ล่ามสาบานก่อนการสอบสวน ทำให้คำรับสารภาพใช้ไม่ได้เป็นหลักฐาน
- เมื่อผู้เสียหายทั้งสามเป็นคนต่างด้าว ไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย การดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานผู้เสียหายทั้งสามต้องอยู่ในบังคับ ป.วิ.อ.มาตรา 13 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าในการสืบพยานปากผู้เสียหายทั้งสามไม่มีล่ามผู้แปล การดำเนินกระบวนพิจารณาในการสืบพยานปากผู้เสียหายทั้งสามจึงเป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมาย ศาลต้องต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย แม้ผู้เสียหายเป็นคนต่างด้าวและเดินทางออกนอกราชอาณาจักรไปแล้ว ก็มิได้หมายความว่าล่วงเลยระยะเวลาที่จะแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนี้ได้ เมื่อพยานปากผู้เสียหายทั้งสามเป็นพยานปากสำคัญในคดี ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นสืบพยานโจทก์ปากผู้เสียหายทั้งสาม และพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208(2) ประกอบมาตรา 225
4. ข้อยกเว้นและการใช้ดุลพินิจของศาล
- ศาลมีดุลพินิจในการกำหนดว่าจะใช้ล่ามหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความเสียเปรียบที่อาจเกิดขึ้นกับคู่ความ
- การจะให้มีล่ามแปลตาม ป.วิ.อ.มาตรา 13 หรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล หากการพิจารณาไม่ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย แม้ไม่มีล่ามแปลก็ใช้ได้ แต่ถ้าทำให้จำเลยเสียเปรียบ เช่น การสืบพยานปากสำคัญโดยไม่มีล่ามแปล ศาลต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
- การใช้ล่ามในชั้นสอบสวนหรือชั้นศาลต้องเป็นไปตามกฎหมาย หากฝ่าฝืนอาจทำให้กระบวนพิจารณาเสียไป
5. บทสรุปเกี่ยวกับการเตรียมเอกสารในคดีโดยล่าม
- แม้กฎหมายไม่ได้ระบุห้ามล่ามที่เคยมีส่วนในการเตรียมเอกสารในคดีนั้นมาทำหน้าที่ แต่หากบทบาทดังกล่าวอาจกระทบความเป็นกลาง ล่ามควรหลีกเลี่ยงการรับหน้าที่ในกรณีดังกล่าว
ผู้ที่จะเป็นล่ามจะเป็นบุคคลใดก็ได้ จริงหรือไม่
ผู้ที่จะเป็นล่ามจะเป็นบุคคลใดก็ได้ แต่ต้องมิใช่พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ หรือศาลผู้ทำหน้าที่สอบสวนหรือซักถามพยาน พนักงานสอบสวนที่ไม่ได้ทำหน้าที่สอบสวนพยานปากนั้น ทำหน้าที่ล่ามได้
ฎ.18538/2555:
ในกระบวนการสอบสวน จ. และ ม. ผู้ดำเนินการสอบสวนคือ ร้อยตำรวจตรี ค. ขณะที่ร้อยตำรวจโท ธ. ทำหน้าที่เป็นล่ามแปล ในขั้นตอนการเบิกความของ จ. ต่อศาล ร้อยตำรวจโท ธ. ยังคงปฏิบัติหน้าที่ในฐานะล่าม ซึ่งได้รับการจัดหาโดยพนักงานสอบสวนและศาลตามที่กฎหมายกำหนด แม้ทนายของจำเลยจะแถลงคัดค้านการที่ร้อยตำรวจโท ธ. เป็นล่ามในระหว่างการสืบพยาน แต่ไม่ได้แสดงเหตุผลหรือหลักฐานว่าการแปลของร้อยตำรวจโท ธ. มีความบกพร่องอย่างไร ดังนั้น การที่ร้อยตำรวจโท ธ. ปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามในชั้นสอบสวนจึงไม่เป็นเหตุที่ทำให้ถ้อยคำของพยานไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้
ส่วนในขั้นตอนการสืบพยานบุคคลปาก จ. ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาล ปรากฏว่าร้อยตำรวจโท ธ. ได้ปฏิญาณตนก่อนทำหน้าที่ล่ามแปลคำเบิกความของ จ. ต่อศาล การเบิกความและถ้อยคำของ จ. จึงถือว่าชอบด้วยกฎหมายและสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ในชั้นพิจารณาคดีของศาล ล่ามจะต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนเริ่มทำหน้าที่แปล
ในชั้นพิจารณาคดีของศาล ล่ามจะต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนเริ่มทำหน้าที่แปล เพื่อยืนยันว่าจะปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องและสุจริต โดยแปลข้อความอย่างครบถ้วนและตรงตามความหมาย โดยไม่มีการเพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล ทั้งนี้ ล่ามยังต้องลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องในคำแปลด้วย
ฎ.7567/2544:
กรณีที่ ร. ซึ่งมีสถานะเป็นทนายความ ทำหน้าที่เป็นล่ามให้จำเลยที่ไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย แต่ไม่ได้ปฏิญาณหรือสาบานตนว่าจะปฏิบัติหน้าที่แปลถ้อยคำของจำเลยอย่างถูกต้อง สุจริต และไม่มีการเพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล นอกจากนี้ ร. ยังมิได้ลงลายมือชื่อรับรองในคำแปลดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงถือเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสอง ส่งผลให้กระบวนพิจารณานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผลกระทบต่อการใช้ล่ามในชั้นพนักงานสอบสวนปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีการสาบานตน
ในชั้นสอบสวน หากพนักงานสอบสวนดำเนินการสอบปากคำจำเลยโดยไม่ได้ให้ล่ามสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนเริ่มปฏิบัติหน้าที่ การสอบสวนดังกล่าวยังคงถือว่าชอบด้วยกระบวนการสอบสวน แต่จะมีผลทำให้คำรับสารภาพของจำเลยไม่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดได้ ตามที่กำหนดใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/4
ฎ.648/2562:
จำเลยไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย แม้ว่าพนักงานสอบสวนจะจัดให้เจ้าพนักงานตำรวจท่องเที่ยวและ พ. ทำหน้าที่เป็นล่ามแปลคำให้การในชั้นสอบสวนให้จำเลยเข้าใจ แต่ล่ามไม่ได้ปฏิญาณหรือสาบานตนว่าจะปฏิบัติหน้าที่อย่างสุจริตตามที่กำหนดใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสี่ ดังนั้น ถ้อยคำรับสารภาพของจำเลยจึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/4
สรุป:
ความสำคัญของการรักษาความเป็นกลาง ความเป็นอิสระ และการหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนของล่าม เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมมีความน่าเชื่อถือและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
เกี่ยวกับนักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรองของสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAProTI) ได้ประกาศหลักเกณฑ์และคุณสมบัติผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็น “นักแปลรับรอง (Certified Translators) และผู้รับรองการแปล (Translation Certification Providers) และล่ามรับรอง (Certified Interpreters)” ของสมาคม หมวดที่ 9 และหมวดที่ 10 ในราชกิจจานุเบกษา ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรไทย ลงวันที่ 25 ก.ค. 2567 เล่มที่ 141 ตอนที่ 66 ง หน้า 100 อ่านฉบับเต็มได้ที่: นักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรอง