SEAProTI.org
: Bureau of Continuing Professional Development (BCPD) under SEAProTI

Bureau of Continuing Professional Development (BCPD) under SEAProTI

Regulations and Operational Guidelines

On the “Bureau of Continuing Professional Development (BCPD)”
Under the Supervision of the Southeast Asian Association of Professional Translators and Interpreters
B.E. 2564 (2021)

Whereas it is deemed appropriate to prescribe principles, procedures, operational guidelines, and the establishment of the Bureau of Continuing Professional Development (BCPD), and to act in accordance with the resolution of the Association’s Extraordinary Executive Committee Meeting No. 2 held on 1 October 2021, under the agenda item “Other Matters” concerning internal protocols to elaborate the Association’s operational direction in detail, the following shall be undertaken:

  1. Promote academic advancement and professional development;

  2. Issue licenses for practitioners and professionals to perform translation, certify translations, and act as interpreters on behalf of the Association;

  3. Promote organizational management quality, trainer quality, and the quality of practitioners and professionals; and

  4. Promote professional ethics and disciplinary review to ensure appropriateness and standardization.

By virtue of the Articles of Association of SEAProTI, Clause 2—Objectives of the Association—including:

  • Clause 2.3: To elevate professional standards and the role of translators and interpreters to international equivalence;

  • Clause 2.4: To enhance translation and interpreting capacity through a professional development system;

  • Clause 2.5: To certify the qualifications of legal and medical translators and interpreters through a professional qualification recognition system by equally knowledgeable individuals and

  • Clause 2.8: To promote ethical conduct among member translators and interpreters.

Clause 1 This regulation shall be called:
“Regulations and Operational Guidelines on the Bureau of Continuing Professional Development under the Supervision of the Southeast Asian Association of Professional Translators and Interpreters, 2021.”

Clause 2 These regulations shall come into force upon the date of announcement.

Clause 3 The Director of the Bureau of Continuing Professional Development shall have the authority to interpret and rule on issues related to the application of these regulations and may set additional guidelines or practices as necessary and appropriate. In the event of a vacancy in the Director position, the Southeast Asian Association of Professional Translators and Interpreters shall appoint an “Acting Director of the Bureau” to perform duties until a Director is appointed according to prescribed criteria.

Chapter 1: General Provisions

Clause 4 In these regulations and operational guidelines:

  • “Operations of the Bureau of Continuing Professional Development” means:

    1. Promoting academic work and professional development;

    2. Issuing licenses to practitioners and professionals to perform translation, certify translations, and act as interpreters on behalf of the Association;

    3. Promoting the quality of organizational management, trainer quality, and practitioner/professional quality;

    4. Promoting professional ethics and conducting disciplinary reviews to ensure appropriateness and standardization.

  • “Bureau of Continuing Professional Development” means the bureau under the supervision of the Southeast Asian Association of Professional Translators and Interpreters.

  • “Academic and Professional Development Promotion Committee” refers to the committee within the BCPD responsible for promoting academic and professional development.

  • “Registrar of the Registration Bureau” refers to the Registrar within the BCPD responsible for issuing licenses for translators, translation certifiers, and interpreters on behalf of the Association.

  • “Quality Promotion Committee” means the committee within the BCPD responsible for promoting organizational management quality, trainer quality, and professional quality.

  • “Professional Ethics Promotion Committee” means the committee within the BCPD responsible for promoting professional ethics, conducting disciplinary reviews, and mediating disputes.

  • “Working Group” means the administrative working group of the BCPD.

  • “Member Registry (Panel)” refers to the registry of practitioners and professionals declared registered by the Association pursuant to Bylaw Clause 8 (Membership application).

  • “Member Record” refers to the record of registered professionals declared by the Association per Bylaw Clause 8.

  • “License to Practice on Behalf of the Association” refers to the license issued by the Registrar certifying registration and authorization to practice in the name of the Association.

  • “Professional ID Card” refers to the professional identification card issued by the Registrar.

Clause 5 The BCPD or Acting Director shall appoint the Registrar of the Registration Bureau.

Clause 6: The Ethics Promotion Board shall supervise the operations of the Professional Ethics Promotion Center and shall report to the Association’s Executive Committee at least twice a year.

SEAProTI’s certified translators, translation certification providers, and certified interpreters:

The Southeast Asian Association of Professional Translators and Interpreters (SEAProTI) has officially announced the criteria and qualifications for individuals to register as “Certified Translators,” “Translation Certification Providers,” and “Certified Interpreters” under the association’s regulations. These guidelines are detailed in Sections 9 and 10 of the Royal Thai Government Gazette, issued by the Secretariat of the Cabinet under the Office of the Prime Minister of the Kingdom of Thailand, dated July 25, 2024, Volume 141, Part 66 Ng, Page 100.

To read the full publication, visit: the Royal Thai Government Gazette 

ระเบียบและข้อปฏิบัติ

ว่าด้วย “สำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง”

ภายใต้การกำกับดูแลของสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี ๒๕๖๔

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ แนวปฏิบัติ และการจัดตั้งสำนักพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (Bureau of Continuing Professional Development – BCPD) และให้เป็นไปตามมติการประชุมของคณะกรรมการวิสามัญครั้งที่ ๒ ของสมาคม เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ตามวาระการประชุม “วาระอื่น ๆ” เกี่ยวกับข้อปฏิบัติภายในเพื่อเป็นการอธิบายแนวทางปฏิบัติโดยมีรายละเอียดเชิงลึกของสมาคม” โดยดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(๑) ส่งเสริมงานวิชาการและพัฒนาวิชาชีพ

(๒) ออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพทำหน้าที่แปล รับรองการแปล และทำหน้าที่ล่าม ในนามสมาคม

(๓) ส่งเสริมคุณภาพการบริหารงานองค์กร คุณภาพวิทยากร คุณภาพผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพ และ

(๔) ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพและสอบวินัย ให้มีความเหมาะสมและเป็นมาตรฐานเดียวกัน

 

อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับสมาคม ข้อ ๒ วัตถุประสงค์ของสมาคม รวมถึง

ข้อย่อย ๒.๓ ยกระดับมาตราฐานวิชาชีพและบทบาทของนักแปลและล่ามให้เทียบเท่าสากล และ;

ข้อย่อย ๒.๔ สร้างเสริมศักยภาพด้านการแปลและล่ามตามระบบการพัฒนาวิชาชีพ และ;

ข้อย่อย ๒.๕ รับรองคุณภาพของนักแปลและล่ามด้านกฎหมายและการแพทย์ตามระบบรับรองมาตราฐานคุณวุฒิวิชาชีพโดยผู้ที่มีความรู้เสมอกัน และ;

ข้อย่อย ๒.๘ ส่งเสริมนักแปลและล่ามสมาชิกให้ปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ   

ข้อ ๑ ระเบียบและข้อปฏิบัตินี้เรียกว่า “ระเบียบและข้อปฏิบัติว่าด้วยสำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง ภายใต้การกำกับดูแลของสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี ๒๕๖๔

ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป

ข้อ ๓ ผู้อำนวยการสำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ หรือวิธีปฏิบัติอื่นใดได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ในกรณีที่ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องว่างลง ให้สมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้แต่งตั้ง “รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนัก” เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทน จนกว่าจะได้ผู้อำนวยการสำนักตามเกณฑที่กำหนด

หมวดที่ ๑

บททั่วไป

ข้อ ๔ ในระเบียบและข้อปฏิบัตินี้

“การดำเนินกิจการของสำนักพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง” หมายความดังนี้

(๑)  ส่งเสริมงานวิชาการและพัฒนาวิชาชีพ

(๒)  ออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพทำหน้าที่แปล รับรองการแปล และทำหน้าที่ล่าม ในนามสมาคม

(๓)  ส่งเสริมคุณภาพการบริหารงานองค์กร คุณภาพวิทยากร คุณภาพผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพ และ

(๔)  ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพและสอบวินัย ให้มีความเหมาะสมและเป็นมาตรฐานเดียวกัน

“สำนักพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง” หมายความว่า สำนักพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“คณะกรรมการส่งเสริมงานวิชาการและพัฒนาวิชาชีพ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมงานวิชาการและพัฒนาวิชาชีพ ของสำนักพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง

“นายทะเบียนสำนักทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนสำนักทะเบียน ของสำนักพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพทำหน้าที่แปล รับรองการแปล และทำหน้าที่ล่ามในนามสมาคม

“คณะกรรมการส่งเสริมคุณภาพ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมคุณภาพ ของสำนักพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง ทำหน้าที่ส่งเสริมคุณภาพการบริหารงานองค์กร คุณภาพวิทยากร คุณภาพผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพ

“คณะกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพและสอบวินัย ของสำนักพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง ทำหน้าที่ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ สอบวินัย และงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

“คณะทำงาน” หมายความว่า คณะทำงานบริหารประจำสำนักพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง

“ทะเบียนสมาชิก” (Panel) หมายความว่า ทะเบียนผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพ ของสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนตามข้อบังคับข้อ ๘. การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม

“บัญชีสมาชิก” (Record) หมายความว่า บัญชีผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพที่ขึ้นทะเบียน ของสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนตามข้อบังคับข้อ ๘. การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม

“ใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพในนามสมาคม” หมายความว่า หนังสือที่นายทะเบียนออกให้ เพื่อแสดงว่าได้มีการขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพของสมาคม  และอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพในนามสมาคม

“บัตรประจำตัววิชาชีพ” หมายความว่า บัตรประจำตัววิชาชีพที่นายทะเบียนออกให้

ข้อ ๕ ให้ผู้อำนวยการสำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือผู้รักษาการแทน แต่งตั้งนายทะเบียน ของสำนักนายทะเบียน

ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณ (Ethics Promotion Board) มีหน้าที่รับผิดชอบ กำกับ ดูแลการดำเนินงาน ของศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ และรายงานผลให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละสองครั้ง

หมวดที่ ๒

คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับการดำเนินงานส่งเสริมจรรยาบรรณ

ข้อ ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับการดำเนินงานส่งเสริมจรรยาบรรณ” ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือผู้รักษาการแทน เป็นประธานกรรมการ และกรรมการอื่น ๆ ที่เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินสี่คน ที่ผู้อำนวยการสำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือผู้รักษาการแทนแต่งตั้ง ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็น สมาชิกสมาคมระดับนักวิชาชีพ และ/หรือสมาชิกที่มีคุณวุฒิด้านก็หมาย เป็นที่ประจักษ์ มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้

(๑) กำหนดนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพและสอบวินัย ให้มีความเหมาะสมและเป็นมาตรฐานเดียวกัน

(๒) กำกับดูแลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการสอบวินัย

(๓) กำหนดมาตรฐานและประเมินมาตรฐาน คุณภาพการบริหารงานองค์กร คุณภาพวิทยากร คุณภาพผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพ

(๔) พิจารณาการอุดหนุนค่าใช้จ่ายของศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยความเห็นชอบจาก ผู้อำนวยการสำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือผู้รักษาการแทน และสมาคม

(๕) จัดให้มีฐานข้อมูลกลางเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ

(๖) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบและข้อปฏิบัติว่าด้วยสำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องภายใต้การกำกับดูแลของสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี ๒๕๖๔

(๗) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี กรณีที่กรรมการ ดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้ผู้อำนวยการสำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือผู้รักษาการแทนแต่งตั้งบุคคลอื่น เป็นกรรมการแทนได้ และให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน

(๘) นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามข้อ (๗) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(๘.๑) ตาย

(๘.๒) ลาออก

(๘.๓) คณะกรรมการให้ออก เพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ

(๘.๔) เป็นบุคคลล้มละลาย

(๘.๕) เป็นบุคคลที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(๘.๖) เป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

หมวดที่ ๓

ศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ

ส่วนที่ ๑

การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ

ข้อ ๑๑ ให้ศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพใช้ตราสัญลักษณ์ของ ศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ ที่ผู้อำนวยการสำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือผู้รักษาการแทนประกาศกำหนด

ข้อ ๑๒ ศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ มีภารกิจ ดังนี้

(๑) รับคำร้องขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สอบวินัย หรือประเมินคุณภาพและมาตราฐาน

(๒) ดำเนินงานเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สอบวินัย หรือประเมินคุณภาพและมาตราฐาน

(๓) ประสานงานและสนับสนุนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สอบวินัย หรือประเมินคุณภาพและมาตราฐาน

(๔) ส่งเสริม และเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สอบวินัย หรือประเมินคุณภาพและมาตราฐาน

(๕) ดำเนินงานอื่น ๆ ตามที่ผู้อำนวยการสำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือผู้รักษาการแทนกำหนด

ข้อ ๑๓ สำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง ภายใต้การกำกับดูแลของสมาคม เป็นผู้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ

ส่วนที่ ๒

จริยธรรมสำหรับคณะกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ

ข้อ ๑๔ คณะกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ ต้องถือปฏิบัติตามจริยธรรม ดังต่อไปนี้

(๑) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง อิสระ ยุติธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ

(๒) เข้าร่วมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การสอบวินัย และการประเมินคุณภาพทุกครั้ง ในกรณีที่ไม่อาจเข้าร่วมได้ ต้องแจ้งเหตุผลและความจำเป็นล่วงหน้าให้ศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพทราบ

(๓) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว ไม่ทำให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การสอบวินัย และการประเมินคุณภาพล่าช้าเกินสมควร

(๔) ซื่อสัตย์สุจริต และไม่เรียกหรือรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากคู่กรณีหรือบุคคลอื่น ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

(๕) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุภาพ

(๖) รักษาความลับที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การสอบวินัย และการประเมินคุณภาพ

(๗) ในกรณีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการสอบวินัย ไม่กระทำการในลักษณะเป็นการชี้ขาดข้อพิพาทหรือบีบบังคับให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ลงลายมือชื่อในข้อตกลงระงับข้อพิพาท

(๘) กรณีอื่นตามที่ข้อบังคับ ระเบียบ ข้อปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ อื่น ๆ ของสมาคม หรือตามกฎหมาย

ส่วนที่ ๓

การคัดค้าน การถอดถอน การสิ้นสภาพ และการเพิกถอนคณะกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ

ข้อ ๑๕ คณะกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงที่อาจเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางและ ความเป็นอิสระของตนในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สอบวินัย ผู้ไกล่เกลี่ย หรือผู้ประเมินคุณภาพให้คู่กรณีทราบ โดยเฉพาะที่เกี่ยวพันกับคู่กรณี ไม่ว่าฝ่ายใดในเรื่อง ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรส

(๒) เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียง ภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น

(๓) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทน

(๔) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างหรือลูกจ้าง

ข้อ ๑๖ คณะกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพอาจถูกคู่กรณีตั้งข้อรังเกียจที่มีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ไม่เป็นกลางหรือไม่เป็นอิสระได้ หากมีกรณีดังกล่าวผู้ไกล่เกลี่ยอาจถูกถอดถอนได้ ในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหลายคน การตั้งข้อรังเกียจดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคู่กรณีทุกคนในฝ่ายนั้น

ข้อ ๑๗ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่อาจเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระ ของกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ ตามข้อ ๑๕ และคู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดคัดค้านหรือ กรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพเห็นเองว่าตนมีกรณีดังกล่าว ให้กรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพผู้นั้นหยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อนและแจ้งให้ศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพทราบ เพื่อที่ผู้อำนวยการสำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือผู้รักษาการแทนจะได้มีคำสั่งต่อไป การยื่นคำคัดค้าน การพิจารณาคำคัดค้าน และการให้คณะกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพอื่นปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งถูกคัดค้าน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องกำหนด

ข้อ ๑๘ กรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพอาจถูกถอดถอนโดยคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายหรือศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้

(๑) กระทำการฉ้อฉล หรือข่มขู่คู่กรณี หรือบุคคลอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทหรือการประเมินคุณภาพ

(๒) ไม่มาปฏิบัติหน้าที่เกินสองครั้ง โดยไม่มีเหตุอันควร

(๓) ขาดจริยธรรม ตามข้อ ๑๔ (๔) ถูกตั้งข้อรังเกียจ ตามข้อ ๑๖ ให้กรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพออกจากการปฏิบัติหน้าที่ในข้อพิพาทหรือการประเมินคุณภาพ และอาจสิ้นสภาพหรือถูกเพิกถอน การเป็นกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพได้ การถอดถอนกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ การสิ้นสภาพของกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ และการเพิกถอนการเป็นกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สำนักการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องกำหนด

ส่วนที่ ๔

ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นในการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

ข้อ ๑๙ การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นของกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้เป็นไปตามระเบียบเดียวกันกับวิทยากร ที่กำหนดใน ข้อปฏิบัติภายในว่าด้วยคุณสมบัติวิทยากรและค่าตอบแทนของสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หมวด ๕

การดำเนินงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สอบวินัยและประเมินคุณภาพ

ส่วนที่ ๑ การยื่นคำร้อง

ข้อ ๒๐ บุคคลที่ประสงค์จะใช้บริการงานส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพให้ยื่นคำร้องโดยทำเป็นหนังสือ หรือกรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการต่อศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามที่คู่กรณีตกลงกัน หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือช่องทางอื่นที่ ศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพกำหนด และให้ออกใบรับคำขอไว้เป็นหลักฐาน

ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำร้องตามข้อ ๒๐ แล้ว ให้ศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายตรวจสอบหลักเกณฑ์ต่าง ๆ และให้ตรวจสอบข้อความในคำร้องและเอกสารประกอบ และให้ลงทะเบียนรับคำร้องไว้ ในกรณีที่ศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพกำหนดเห็นว่า กิจการที่ขอให้ดำเนินการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ให้ศูนย์ส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพกำหนดยกคำร้อง หากเห็นว่าคำร้องไม่ถูกต้องหรือมีรายการไม่ครบถ้วนให้คืนคำร้องนั้นไปให้ทำมาใหม่หรือแก้ไข เพิ่มเติมให้ถูกต้องภายในระยะเวลาสามสิบวัน ในกรณีที่ผู้ยื่นคำร้องไม่แก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องภายใน ระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ยื่นคำร้องไม่ประสงค์จะยื่นคำร้อง

ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ผู้ใช้บริการหรือคู่กรณีขาดนัด ให้ยึดตามหลักการขนาดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ส่วนที่ ๕

การบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท

ข้อ ๒๓ เมื่อคู่กรณีฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทแล้ว แต่คู่กรณีฝ่ายที่ถูกเรียกร้องนั้นไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท คู่กรณีฝ่ายที่เรียกร้องอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้บังคับตามข้อตกลงได้

หมวด ๖

เบ็ดเตล็ด

ข้อ ๒๔ การใดที่มิได้บัญญัติไว้ในระเบียบและข้อปฏิบัตินี้ ให้ถือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม  ๒๕๖๔

                                                          วณิชชา สุมานัส

                              นายกสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เกี่ยวกับนักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรองของสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAProTI) ได้ประกาศหลักเกณฑ์และคุณสมบัติผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็น “นักแปลรับรอง (Certified Translators) และผู้รับรองการแปล (Translation Certification Providers) และล่ามรับรอง (Certified Interpreters)” ของสมาคม หมวดที่ 9 และหมวดที่ 10 ในราชกิจจานุเบกษา ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรไทย ลงวันที่ 25 ก.ค. 2567 เล่มที่ 141 ตอนที่ 66 ง หน้า 100 อ่านฉบับเต็มได้ที่: นักแปลรับรอง ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรอง    

CHANGE LANGUAGE
Powered by
SEAProTI.org
An initiative to raise professional standards of translators and interpreters in Southeast Asia
Reload Page
Copy Link